วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

>> การเรียนการสอนพุทธศานา ตอนที่ 2

.


ปฏิเสธไม่ได้ว่า นักเรียนนักศึกษา เยาวชนจำนวนหนึ่ง เบื่อหน่ายศาสนาเพราะการปลูกฝังแบบโบราณ ที่ให้ท่องจำบทสวดเป็นการสอบ และบอกว่าท่องแล้วได้บุญ เมื่อเด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาด้านอื่นๆในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้มีความเข้าใจในตรรกะพื้นฐานของโลกความจริงมากขึ้น สิ่งที่สั่งสอนไปจึงถูกมองเป็นความงมงาย กลายเป็นว่าการเรียนการสอนพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่น่าเบื่อ น่าเหนื่อยหน่าย

การตั้งกระทู้ถามของข้าพเจ้าจึงเล็งไปที่ๆมีกลุ่มเด็กนักเรียนอยู่เยอะคือเว็บบอร์ดเด็กดี โดยใช้ข้อความจากบทสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้เป็นภาษาสำหรับการตั้งกระทู้


อยากถามว่าเพื่อนๆคิดยังไงกับวิชาพระพุทธศาสนาครับ << จากเว็บบอร์ดเด็กดี

------------


"การสอนวิชาพุทธศาสนา
บางส่วน การสอนแบบนั้นก็มีส่วนให้เกิดความไม่เข้าใจ เช่น ผู้สอนเองก็ไม่เข้าใจถ่องแท้ เพื่อนฝูงก็มีส่วน การบีบคั้นทางสังคม ครอบครัว ก็มีส่วน
หลักสูตรมันดีอยู่แล้วรึยัง ก็ยังไม่ดีหรอก คือมันได้ในแง่ของนกแก้วนกขุนทอง คือ รู้ มันก็รู้ไม่จริง คือแค่ให้บรรจุอยู่ในประถมมัธยม แต่เด็กเขารู้มั้ย เช่น นั่งสมาธิ ผู้สอนรู้ดีแค่ไหน หรือรู้แแค่คำอธิบายเหมือนกัน
เพราะสมาธิก็จะมีหลายแง่ เช่น ทำงานก็มีสมาธิ (ขณิกสมาธิ ทำงานเพลินจนลืมสมาธิ) แต่ถ้าเราจะสอนให้เด็กรู้จักแค่การนั่งสมาธิต้องออกมาเป็นแบบในรูปนี้อย่างเดียว เด็กก็คงไม่เข้าใจถึงคำว่าสมาธิ"

-จากบทสัมภาษณ์ พระกฤษวัฒน์ วัดป่านาบุญ จังหวัดเชียงใหม่

-----------------

ถึงตรงนี้ขอยกอีกหนึ่งเทศนาจากท่าน ว.วชิรเมธี เกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนาที่ผิดๆ ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อเด็กวัยรุ่น และปัญญาชน

"ตรงนี้เองคืออุปสรรคและปัญหาของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่แท้จรงในเมืองไทย เป็นเหตุให้ปัญญาชนทั้งหลาย เซ็งศาสนา โดยเฉพาะอาตมาที่สอนหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัย 10 กว่าแห่งเนี่ย อาตมามีโอกาสได้สัมผัสตั้งแต่อธิการบดีจนถึงเด็กปี1ปี2 อาตมารู้เลยว่าทำไมวัยรุ่นที่อยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อ คืออยู่ในมหาวิทยาลัย กับปัญญาชนทั้งหลายในมหาวิทยาลัย ทำไมจึงเบื่อพุทธศาสนา ก็เพราะเขาเข้าไม่ถึงแก่น เค้ามองเห็นแต่ก้อนอิฐก้อนหินที่คนเอาพระไปซ่อนไว้ข้างใน เห็นแต่ตัวเจดีย์ซึ่งมันปิดบังพระ ไม่เห็นตัวพระที่ซ่อนไว้ข้างใน ก็เลยหันหลังให้ศาสนา เหล่านี้ทั้งหลังทั้งปวงก็คือ ความมืดสีขาว "
- เทศนาเรื่อง "ฝ่าความมืดสีขาว" พระ ว. วชีริเมธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น